Saturday, December 15, 2012

ลักษณะเด่นของอาหารไทย


ลักษณะเด่นของอาหารไทย คือ อาหารแต่ละชนิดจะมีคุณค่าทางอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และส่วนประกอบของอาหารจะมีสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอยู่ด้วยเช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ซึ่งการนำสมุนไพรมาเป็นส่วนประกอบของอาหารนี้จัดได้ว่าเป็นภูมิปัญญาด้านอาหารของอาหารไทย ตัวอย่างของอาหารที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ต้มยำกุ้ง แกงเหลือง แกงไตปลา น้ำพริกอ่อง อ่อม และส้มตำ เป็นต้น นอกจากส่วนประกอบของอาหารแล้ว การตกแต่งอาหารอย่างสวยงาม ประณีต ก็เป็นภูมิปัญญาอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้อาหารดูน่ารับประทานยิ่งขึ้น เช่น การแกะสลักผักผลไม้ การประดิษฐ์รูปแบบของขนมให้สวยงาม เช่น ขนมลูกชุบ ขนมทองเอก ขนมจ่ามงกุฎ เป็นต้น การที่อาหารไทยมีคุณค่าทางโภชนาการและมีความสวยงาม จึงทำให้อาหารไทยได้รับความนิยมไปทั่วโลก

อาหารไทยแท้ คือ อาหารที่คนไทยคิดทำกันมาแต่โบราณ ส่วนมากเป็นแบบง่ายๆ เช่น ข้าวแช่ ต้มโคล้ง แกงป่า น้ำพริก และหลน เป็นต้น ส่วนขนมไทยแท้ก็ปรุงมาจากแป้ง น้ำตาล กะทิ เป็นส่วนใหญ่ เช่น ขนมเปียกปูน ขนมเปียกอ่อนตะโก้ ลอดช่อง ขนมปลากริมไข่เต่า ขนมใส่ไส้ และขนมครก เป็นต้น ส่วนมากไม่ใช้ไข่ ถ้าใช้มักจะเป็นขนมไทยที่รับมาจากชาติอื่น
เป็นภูมิปัญญาของคนไทยซึ่งถึงถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ ในยุคประวัติศาสตร์ อาหารแต่ละอย่างได้ผ่าน การคิดค้นขึ้นมาเพื่อให้เข้ากับภูมิอากาศ ภูมิประเทศในการหาวัตถุดิบในการประกอบ ปรุงอาหาร และยังมี คุณค่าทางโภชนาการ ถึงแม้ในอดีต คนไทยยังไม่มีวิวัฒนาการในด้านวิทยาศาสตร์ แต่ก็ได้มีความรู้เรื่องประโยชน์ในการนำวัตถุดิบมาประกอบอาหาร เพราะส่วนใหญ่วัตถุดิบที่ใช้ในการทำนั้น เป็นสมุนไพร ใช้ในการรักษา ป้องกันโรคต่างๆ ได้ ซึ่งในปัจจุบันวิทายการพัฒนาขึ้น ทางวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา แล้วก็ลงความเห็นว่าเป็นเช่นดังที่คนสมัยก่อนเข้าใจ สิ่งนี่จึงเป็นที่เห็นได้ชัดว่า คนไทยมีภูมิปัญญาที่ไม่ด้อยกว่าใคร ดังนั้นการรับประทานอาหารไทยนั้นจึงมีประโยชน์อย่างมาก ในปัจจุบันชาวต่างชาติก็ได้หันมานิยมอาหารไทย เพราะติดใจในรสชาติที่เป็นไทยๆ ทั้งโภชนาการสูง  โดยส่วนใหญ่อาหารไทยจะมีวิธีการประกอบอย่างง่ายๆ และ ใช้เวลาในการทำไม่มากนัก โดยเฉพาะทุกครัวเรือนของคนไทย จะมีส่วนประกอบอาหารติดอยู่ทุกครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นพริก แห้ง กุ้งแห้ง น้ำปลา กะปิ ส้มมะขาม กระเทียม หัวหอม ตลอด จนปลาบ้าง รวมทั้งส่วนประกอบอาหารจำพวกผัก และเนื้อสัตว์ นานาชนิด เพราะมีวิธีนำมาประกอบที่มีด้วยกันหลายรูปแบบไม่ ว่าจะเป็น แกง ต้ม ผัด ยำ
เมนูอาหารไทยที่ขึ้นชื่อลือชาหลายชนิดจึงประกอบไปด้วยอาหารมากมายกว่า 255 ชนิด

อาหารไทย สมัยรัตนโกสินทร์

การศึกษาความเป็นมาของอาหารไทยในยุครัตนโกสินทร์นี้ได้จำแนกตามยุคสมัยที่นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดไว้ คือ ยุคที่ 1 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และยุคที่ 2 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ดังนี้
  สมัยรัตนโกสินทร์ ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2325 – พ.ศ. 2394)
    อาหารไทยในยุคนี้เป็นลักษณะเดียวกันกับสมัยธนบุรี แต่มีอาหารไทยเพิ่มขึ้นอีก 1 ประเภท คือ นอกจากมีอาหารคาว อาหารหวานแล้วยังมีอาหารว่างเพิ่มขึ้น ในช่วงนี้อาหารไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอาหารของประเทศจีนมากขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนเป็นอาหารไทย ในที่สุด จากจดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ที่กล่าวถึงเครื่องตั้งสำรับคาวหวานของพระสงฆ์ ในงานสมโภชน์ พระพุทธมณีรัตนมหาปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ได้แสดงให้เห็นว่ารายการอาหารนอกจากจะมีอาหารไทย เช่น ผัก น้ำพริก ปลาแห้ง หน่อไม้ผัด แล้วยังมีอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศแบบอิสลาม และมีอาหารจีนโดยสังเกตจากการใช้หมูเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากหมูเป็นอาหารที่คนไทยไม่นิยม แต่คนจีนนิยม
   
   
บทพระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงกล่าวถึงอาหารคาวและอาหารหวานหลายชนิด ซึ่งได้สะท้อนภาพของอาหารไทยในราชสำนักที่ชัดเจนที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะของอาหารไทยในราชสำนักที่มีการปรุงกลิ่น และรสอย่างประณีต และให้ความสำคัญของรสชาติอาหารมากเป็นพิเศษ และถือว่าเป็นยุคสมัยที่มีศิลปะการประกอบอาหารที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุด ทั้งรส กลิ่น สี และการตกแต่งให้สวยงามรวมทั้งมีการพัฒนาอาหารนานาชาติให้เป็นอาหารไทย
   
   
จากบทพระราชนิพนธ์ทำให้ได้รายละเอียดที่เกี่ยวกับการแบ่งประเภทของอาหารคาวหรือกับข้าวและอาหารว่าง ส่วนทีเป็นอาหารคาวได้แก่ แกงชนิดต่างๆ เครื่องจิ้ม ยำต่างๆ สำหรับอาหารว่างส่วนใหญ่เป็นอาหารว่างคาว ได้แก่ หมูแนม ล่าเตียง หรุ่ม รังนก ส่วนอาหารหวานส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ทำด้วยแป้งและไข่เป็นส่วนใหญ่ มีขนมที่มีลักษณะอบกรอบ เช่น ขนมผิง ขนมลำเจียก และมีขนมที่มีน้ำหวานและกะทิเจืออยู่ด้วย ได้แก่ ซ่าหริ่ม บัวลอย เป็นต้น
นอกจากนี้ วรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งถือว่าเป็นวรรณคดีที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนในยุคนั้นอย่างมากรวมทั้งเรื่องอาหารการกินของชาวบ้าน พบว่ามีความนิยมขนมจีนน้ำยา และมีการกินข้าวเป็นอาหารหลัก ร่วมกับกับข้าวประเภทต่างๆ ได้แก่ แกง ต้ม ยำ และคั่ว อาหารมี ความหลากหลายมากขึ้นทั้งชนิดของอาหารคาว และอาหารหวาน
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างมาก และมีการตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกในประเทศไทย ดังนั้น ตำรับอาหารการกินของไทยเริ่มมีการบันทึกมากขึ้น โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นในบทพระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน จดหมายเหตุ เสด็จประพาสต้น เป็นต้น และยังมีบันทึกต่างๆ โดยผ่านการบอกเล่าสืบทอดทางเครือญาติ และบันทึกที่เป็นทางการอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นลักษณะของอาหารไทย ที่มีความหลากหลายทั้งที่เป็น กับข้าวอาหารจานเดียว อาหารว่าง อาหารหวาน และอาหารนานาชาติ ทั้งที่เป็นวิธีปรุงของราชสำนัก และวิธีปรุงแบบชาวบ้านที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าอาหารไทยบางชนิดในปัจจุบันได้มีวิธีการปรุงหรือส่วนประกอบของอาหารผิดเพี้ยนไปจากของดั้งเดิม จึงทำให้รสชาติของอาหารไม่ใช่ตำรับดั้งเดิม และขาดความประณีตที่น่าจะถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของอาหาร ไทย

อาหารไทย สมัยธนบุรี

          จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือแม่ครัวหัวป่าก์ ซึ่งเป็นตำราการทำกับข้าวเล่มที่ 2 ของไทย ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ พบความต่อเนื่องของวัฒนธรรมอาหารไทยจากกรุงสุโขทัยมาถึงสมัยอยุธยา และสมัยกรุงธนบุรี และยังเชื่อว่าเส้นทางอาหารไทยคงจะเชื่อมจากกรุงธนบุรีไปยังสมัยรัตนโกสินทร์ โดยผ่านทางหน้าที่ราชการและสังคมเครือญาติ และอาหารไทยสมัยกรุงธนบุรีน่าจะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา แต่ที่พิเศษเพิ่มเติมคือมีอาหารประจำชาติจีน

อาหารไทยสมัยอยุธยา

          สมัยนี้ถือว่าเป็นยุคทองของไทย ได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้นทั้งชาวตะวันตกและตะวันออก จากบันทึกเอกสารของชาวต่างประเทศ พบว่าคนไทยกินอาหารแบบเรียบง่าย ยังคงมีปลาเป็นหลัก มีต้ม แกง และคาดว่ามีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารแต่เป็นน้ำมันจากมะพร้าวและกะทิมากกว่าไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์มากขึ้น คนไทยสมัยนี้มีการถนอมอาหาร เช่นการนำไปตากแห้ง หรือทำเป็นปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้ม เช่นน้ำพริกกะปิ นิยมบริโภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ ไม่นิยมนำมาฆ่าเพื่อใช้เป็นอาหาร ได้มีการกล่าวถึงแกงปลาต่างๆ ที่ใช้เครื่องเทศ เช่น แกงที่ใส่หัวหอม กระเทียม สมุนไพรหวาน และเครื่องเทศแรงๆ ที่คาดว่านำมาใช้ประกอบอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อปลา หลักฐานจากการบันทึกของบาทหลวงชาวต่างชาติที่แสดงให้เห็นว่าอาหารของชาติต่าง ๆ เริ่มเข้ามามากขึ้นในสมเด็จพระนารายณ์ เช่น ญี่ปุ่น โปรตุเกส เหล้าองุ่นจากสเปนเปอร์เซีย และฝรั่งเศส สำหรับอิทธิพลของอาหารจีนนั้นคาดว่าเริ่มมีมากขึ้นในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายที่ไทยตัดสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าอาหารไทยในสมัยอยุธยา ได้รับเอาวัฒนธรรมจากอาหารต่างชาติ โดยผ่านทางการมีสัมพันธไมตรีทั้งทางการทูตและทางการค้ากับประเทศต่างๆ และจากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์ว่าอาหารต่างชาติส่วนใหญ่แพร่หลายอยู่ในราชสำนัก ต่อมาจึงกระจายสู่ประชาชน และกลมกลืนกลายเป็นอาหารไทยไป ในที่สุด

อาหารไทยในสมัยสุโขทัย

อาหารไทยในสมัยสุโขทัยได้อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึก และวรรณคดี สำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไท ที่ได้กล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่า มีข้าวเป็นอาหารหลัก โดยกินร่วมกับกับข้าว ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลา มีเนื้อสัตว์อื่นบ้าง การปรุงอาหารได้ปรากฏคำว่า “แกง” ใน ไตรภูมิพระร่วงที่เป็นที่มาของคำว่า ข้าวหม้อแกงหม้อ ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึก คือ แฟง แตงและน้ำเต้า ส่วนอาหารหวานก็ใช้วัตถุดิบพื้นบ้าน เช่น ข้าวตอกและน้ำผึ้ง ส่วนหนึ่งนิยมกินผลไม้แทนอาหารหวาน
 

เมนูอาหารไทย-อังกฤษ

เมนูอาหารไทย-อังกฤษ




 อาหาร 10 อย่างตามร้านอาหารริมทางเดิน
1. ส้มตำ - a spicy salad with shredded papaya
2. ข้าวมันไก่ทอด - fried chicken served on rice cooked in chicken broth
3. ราดหน้า - noodles and pork in a thick gravy
4. บะหมี่เกี๊ยวน้ำ - egg noodle soup with wonton
5. ผัดไทย - fried noodles with dried shrimp and tofu
6. โจ๊ก - a thick rice soup excellent for breakfast
7. ผัดซีอิ๊ว - pan-fried noodles
8. ข้างผัด - fried rice
9. หมูผัดกระเพรา - pork fried in basil
10. ข้าวหมูแดง - red pork with rice


อาหารไทยตำรับยอดนิยม 10 อย่าง
1. ต้มยำกุ้ง (Hot and sour soup with shrimp)
2. แกงเขียวหวานไก่ (Green curry with chicken)
3. ผัดไทย (Fried Noodles)
4. หมูผัดกระเพรา (Pork fried in basil)
5. แกงเผ็ดเป็ดย่าง (Red curry with roast duck)
6. ต้มข่าไก่ (Coconut soup with chicken)
7. ยำเนื้อย่าง (Thai style salad with beef)
8. สะเต๊ะหมู (Satay pork)
9. ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ (Fried chicken with cashew)
10. พะแนง (Panang curry )


ประเภทข้าว
ข้าวคลุกกะปิ - Fried Rice with Shrimp Paste
ข้าวมันไก่ - Chinese Chicken Rice
ข้าวหมกไก่ - Chicken with Yellow Rice
โจ้ก - Rice Porridge with Pork


ประเภทแกง
แกงกะหรี่ไก่ - Yellow Curry with Chickenมัสหมั่น - Massaman Curry
แกงคั่วฟัก - Chicken and Wax Gourd curry ไก่ผัดผงกะหรี่ - Stir-fried Chicken with Curry Powderแกงส้ม - Sour Curry with Vegetables and Shrimp


ประเภทก๊วยเตี๋ยว
ผัดไทย - Thai Fried Noodles
ขนมจีนน้ำยา - Noodles in Fish Curry Sauce


ประเภทซีฟู๊ด
น้ำพริกปลาทู - Fried Mackerel with Shrimp Paste Sauce
ห่อหมก - Fish Curry in a Cup
หอยทอด - Fried Mussels with Egg 
หอยทอดขนมครก - Coconut Pudding with Mussels
ทอดมันปลา - Fish Cakesยำ
ปลาดุกฟู - Fried Crispy Catfish served with Spicy Mango Salad


อาหารกับข้าวอย่างอื่น
ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ - Stir-fried Chicken with cashew nuts 
ปากหม้อ - Rice Pancakes
ไส้กรอกอีสาน - Thai Sausages
หมูสะเต๊ะ - Satay Pork in Peanut Sauce
ส้มตำ - Papaya Salad


ของหวาน
ขนมเบื้อง - Crispy Pancakes
ขนมจาก- Nipa Palm dessert
ขนมหม้อแกง Custard Pudding
กล้วยเชื่อม - Bananas in Syrup
ขนมเทียน - Sticky Rice in Banana Leaves
ข้าวต้มมัด - Sticky Rice and bananas
ข้าวเหนียวตัด - Sticky Rice Slices
ขนมถ้วย - Steamed Pandanus Cake
ขนมครก - Coconut Puddings 
ขนมถังแตก - Poorman's Pancakes


ประเภทต้ม
mild soup with vegetables and pork   แกงจืด
mild soup with vegetables, pork and bean curd   แกงจืดเต้าหู้
soup with chicken, galanga root and coconut   ต้มข่าไก่
prawn and lemon grass soup with mushrooms   ต้มยำกุ้ง
fish-ball soup   แกงจืดลูกชิ้น
rice soup with fish/chicken/shrimp   ข้าวต้มปลา/ไก่/กุ้งไข่
hard-boiled egg   ไข่ต้ม
fried egg   ไข่ดาว
plain omelet   ไข่เจียว
omelet with vegetables   ไข่ยัดไส้
scrambled egg   ไข่กวนก๋วยเตี๋ยว
wide rice noodle soup with vegetables and meat   ก๋วยเตี๋ยวน้ำ
wide rice noodles   with vegetables and meat   ก๋วยเตี๋ยวแห้ง
thin rice noodles fried with tofu, vegetable, egg and peanuts   ผัดไทย
fired thin noodles with soy sauce   ผัดซีอิ้ว
wheat noodles in broth with vegetables and meat   บะหมี่น้ำ
wheat noodles with vegetables and meat   บะหมี่แห้งอาหารจานเดียวประเภทข้าว
fried rice with pork/chicken/shrimp   ข้าวผัดหมู/ไก่/กุ้ง
boned, sliced Hainan-style chicken with marinated rice   ข้าวมันไก่
chicken with sauce over rice   ข้าวหน้าไก่
roast duck over rice   ข้าวหน้าเป็ด
'red' pork with rice   ข้าวหมูแดง
curry over rice   ข้าวแกงประเภทแกง
hot Thai curry with chicken/beef/pork   แกงเผ็ดไก่/เนื้อ/หมู
rich and spicy, Muslim-style curry with chicken/beef and potatoes   แกงมัสมันไก่/เนื้อ
mild, Indian-style curry with chicken   แกงกะหรี่ไก่
hot and sour, fish and vegetable ragout   แกงส้ม
'green' curry with fish/chicken/beef   แกงเขียวหวานปลา/ไก่/เนื้อ
savory curry with chicken/beef   แกงพะแนงไก่/เนื้อ
chicken curry with bamboo shoots   แกงไก่หน่อไม้
catfish curry   แกงปลาดุกอาหารทะเล
steamed crap   ปูนึ่ง
steamed crap claws   ก้ามปูนึ่ง
shark-fin soup   หูฉลาม
crisp-fried fish   ปลาทอด
fried prawns   กุ้งทอด
batter-fried prawns   กุ้งชุบแป้งทอด
grilled prawns   กุ้งเผา
steamed fish   ปลานึ่ง
grilled fish   ปลาเผา
whole fish cooked in ginger, onions   ปลาเจี๋ยน
sweet and sour fish   ปลาเปรี้ยวหวาน
cellophane noodles barked with crap   วุ้นเส้นอบปู
spicy fried squid   ปลาหมึกผัดเผ็ด
roast squid   ปลาหมึกย่าง
oysters fried in egg batter   หอยทอด
squid   ปลาหมึก
shrimp   กุ้ง
fish   ปลา 
catfish   ปลาดุก
freshwater eel   ปลาไหล
saltwater eel   ปลาหลด
tilapia   ปลานิล
spiny lobster   กุ้งมังกร
green mussel   หอยแมลงภู่
scallop   หอยพัด
oyster   หอยนางรมอื่นๆ
stir-fried mixed vegetables   ผัดผักรวม
spring rolls   เปาะเปี๊ยะ
beef in oyster sauce   เนื้อผัดน้ำมันหอย
duck soup   เป็ดตุ๋น
roast duck   เป็ดย่าง
fried chicken   ไก่ทอด
chicken fried in holy basil   ไก่ผัดใบกะเพรา
grilled chicken   ไก่ย่าง
chicken fried with chilies   ไก่ผัดพริก
chicken fried with cashews   ไก่ผัดเม็ดมะม่วง
morning-glory vine fried in garlic, chili and bean sauce   ผักบุ้งไฟแดง
'satay' or skewers of barbecued meat   สะเต๊ะ
spicy green papaya salad   ส้มตำ
noodles with fish curry   ขนมจีนน้ำยา
prawns fried with chilies   กุ้งผัดพริกเผา
chicken fried with ginger   ไก่ผัดขิง
fried wonton   เกี๊ยวกรอบ
cellophane noodle salad   ยำวุ้นเส้น
spicy chicken or beef salad   ลาบไก่/ลาบเนื้อ
hot and sour, grilled beef salad   ยำเนื้อ
chicken with bean sprouts   ไก่สับถั่วงอก
fried fish cakes with cucumber sauce   ทอดมันปลา


ผัก
angle bean   ถั่วภู
bean sprout   ถั่วงอก
bitter melon   มะระจีน
brinjal (round eggplant)   มะเขือเปราะ
cabbage   กะหล่ำปลี
cauliflower   ดอกกะหล่ำ
corn   ข้าวโพด
cucumber   แตงกวา
eggplant   มะเขือม่วง
garlic   กระเทียม
lettuce   ผักกาด
long bean   ถั่วฝักยาว
okra (ladyfingers)   กระเจี๊ยบ
onion (bulb)   หัวหอม
onion (green, scallions)   ต้นหอม
peanuts (ground nuts)   ถั่วลิสง
potato   มันฝรั่ง
pumpkin   ฟักทอง
taro   เผือก
tomato   มะเขือเทศ


ผลไม้
banana   กล้วย
coconut   มะพร้าว
custard-apple   น้อยหน่า
durian   ทุเรียน
guava   ฝรั่ง
jackfruit   ขนุน
lime   มะนาว
longan   ลำไย
mandarin orange   ส้ม
mango   มะม่วง
mangosteen   มังคุด
papaya   มะละกอ
pineapple   สับปะรด
pomelo   ส้มโอ
rambeh-small, reddish-brown   มะไฟ
rambutan   เงาะ
rose-apple   ชมพู่
tamarind   มะขาม
sapodilla   ละมุด
watermelon   แตงโม


ขนมหวาน
Thai custard   สังขยา
coconut custard   สังขยามะพร้าว
sweet shredded egg yolk   ฝอยทอง
egg custard   หม้อแกง
banana in coconut milk   กล้วยบวชชี
fried, Indian-style banana   กล้วยแขก
sweet palm kernels   ลูกตาลเชื่อม
Thai jelly with coconut cream   ตะโก้
sticky rice with coconut cream   ข้าวเหนียวแดง
sticky rice in coconut cream with ripe mango   ข้าวเหนียวมะม่วง

ชื่่อเมนูอาหารไทย อังกฤษ Thailand Food Menu รายการอาหาร เมนูอาหาร ภาษาอังกฤษ Thai แปลเป็น ภาษาอังกฤษ

Chicken and Bamboo Shoot in Yellow Curry   แกงไก่หน่อไม้

Snake Head Fish with Fried Black Pepper    ปลาไหลผัดพริกไทยดำ

Stir Fried Vegetable with Prawn   ผัดผักรวมมิตร

Fried Mushroom with Bean curd   เต้าหู้ผัดเห็ดหูหนู

Red Curry with Pork (gaeng pet mooo)   แกงเผ็ดหมู

Fried Mackerel with Shrimp Paste Sauce (nam prik kapi pla too)   น้ำพริกกะปิปลาทู

Tom Yum with Banana Flower and Snake Head Fish  ต้มยำปลาช่อนทอดใส่หัวปลี 

Fried Mushroom and Pork in Oyster Sauce   ผัดหมูใส่เห็ด 

Omelette   ไข่เจียว

Hot and Sour Chicken Soup (tom yum gai)   ต้มยำไก่

Deep Fried Spring Rolls (por pia tod)   ปอเปี๊ยะทอด

Glutinous Rice Fingers (khanom niaw)   ขนมเหนียว 

Som Tam Fruit Salad (som tam polamai)   ส้มตำผลไม้

สูตรแกงกะหรี่ไก่ ที่ได้กลิ่นหอมและรสชาติสมุนไพร



แกงกะหรี่ไก่ จานนี้ต้องขอบอกและยกนิ้วให้เลยสำหรับท่านทื่ทานอยู่ รับรองได้เลยว่าเป็นอาหารจานโปรดของใครหลายๆคน เพราะ แกงกะหรี่ไก่  มีรสชาติอร่อย มีกลิ่นชวนหอมของ ยี่หร่าคั่ว ผงกะหรี่  ลูกผักชีคั่ว  ได้รสชาติสมุนไพรเลยก็ว่าได้  หอม สดด้วยเนื้อไก่ชิ้นโต  และด้วยน้ำของ แกงกะหรี่ไก่ นั้นไม่ต้องบอกเลยว่าอร่อยสุดๆไปเลยรับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ ท่านจะลืมกับข้าวจานอื่นไปได้เลย รับรองไม่เชื่อลองทานดูได้ จะหาว่าโม้กัน มีการทำเริ่มกันได้เลยตามนี้แกงกะหรี่ไก่จานโปรดของเรา

เครื่องปรุงในการทำแกงกะหรี่ไก่

  1. เนื้ออกไก่หั่นเป็นชิ้นใหญ่  500 กรัม
  2. มะพร้าวขูด  400 กรัม
  3. มันฝรั่งหัวเล็กต้ม 3 หัว
  4. หอมแดงเจียว  2 ช้อนโต๊ะ
  5. เกลือป่น  2 ช้อนชา

เครื่องแกง

  1. พริกแห้งเม็ดใหญ่แกะเมล็ดออกแช่น้ำ  3 เม็ด
  2. หอมแดงเผา  5 หัว
  3. กระเทียมเผา  10 กลีบ
  4. ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ
  5. ข่าหั่นละเอียด ขิงหั่นคั่วอย่างละ 1 ช้อนชา
  6. ลูกผักชีคั่ว  1 ช้อนโต๊ะ
  7. ยี่หร่าคั่ว 1 ช้อนชา
  8. ผงกะหรี่  2 ช้อนชา
กะปิ  เกลือป่น อย่างละ 1 ช้อนชา

เครื่องอาจาด

  1. แตงกวาหั่นชิ้นเล็ก  4 ลูก
  2. หอมแดงซอย  2 หัว
  3. พริกชีฟ้าหั่นแว่น 1 เม็ด
  4. น้ำส้มสายชู  1/3  ถ้วย
  5. น้ำตาลทราย  1 ช้อนโต๊ะ
  6. เกลือป่น  1 ช้อนชา

วิธีทำแกงกะหรี่ไก่

1.นำพริกแห้งเม็ดใหญ่ หอมแดง กระเทียมเผา  ตะไคร้ซอย ข่าหั่นละเอียด โขลกเข้ากัน นำ ลูกผักชีคั่ว  ยี่หร่าคั่ว ผงกะหรี่   ทำการโขลกต่อผสมให้เข้ากัน
2.คั้นมะพร้าวใส่น้ำ 2 ถ้วย จากนั้นคั้นเอาหัวกะทิ 1 ถ้วย หางกะทิ 1 ถ้วย
3.เริ่มผัดน้ำพริกแกง กับน้ำมันที่เจียวด้วยหอมแดง ค่อยๆใส่หัวกะทิ ผัดให้ได้กลิ่นหอม
4. ใส่หัวกะทิ ใส่เนื้อไก่ทำให้สุก จากนั้นเติมหางกะทิลงไป ตามด้วยเกลือ
5.ใส่มันฝรั่งต้ม ลงไปคนให้เข้ากัน
6.นำตักใส่ชามเพื่อรอเสริฟ โรยหน้าด้วยหอมแดงเจียว
การทำอาจาด
เริ่มนำเคี่ยวน้ำส้มสายชู  น้ำตาล เกลือ ให้ละลายเข้ากันดี จากนั้นก็ใส่แตงกวา หอมแดง พริกชี้ฟ้า
ก่อนการรับประทานทุกครั้ง
ขอบคุณรูปภาพสวย ๆ จาก http://www.9leang.com

Sunday, November 18, 2012

อาหารไทยภาคเหนือ

อาหารไทยภาคเหนือ

ภาคเหนือ เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีตเป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ที่มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ และการที่คนเหนือมีเชื้อสายไทยใหญ่ หน้าตา ผิวพรรณ จึงต่างไปจากคนภาคอื่น ๆ ประกอบกับความอ่อนหวาน ซื่อ บริสุทธิ์ ทำให้คนเหนือมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของตนเอง นอกจากนี้ การมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทำให้เกิดธรรมชาติที่สวยงาม มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และยังเป็นที่อยู่ของคนไทยภูเขา หลายเผ่าพันธุ์ ภาคเหนือจึงยังเป็นที่รวมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่งดงามเหล่านี้ได้สืบทอดกันมานานแสนนาน ภาคเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นคล้ายต่างประเทศไม้เมืองหนาวต่าง ๆ พันธุ์ ถูกนำมาทดลองปลูก และได้กลายเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่ เกษตรกรภาคเหนือเป็นอันมาก แต่ถึงจะสามารถปลูกพืช ผัก เมืองหนาวได้แต่อาหารดั้งเดิมของภาคเหนือ ก็ยังใช้ผักตามป่าเขา และผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ มาใช้ในการปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่ การรับประทานอาหารของคนภาคเหนือนั้น จะใช้โก๊ะข้าว หรือที่เรียกว่าขันโตก แทนโต๊ะข้าว โดยสมาชิกในบ้านจะนั่งล้อมวงเพื่อรับประทานอาหารกัน โก๊ะข้าว หรือขันโตก จะทำด้วยไม้รูปทรงกลม มีขาสูงพอที่จะนั่งร่วมวง และหยิบอาหารได้สะดวก ชาวบ้านภาคเหนือจะจัดอาหารใส่ถ้วยแล้ววางบนโก๊ะข้าว หรือบางบ้านอาจใช้ใส่กระด้งแทน การเก็บอาหารทีเหลือ เพื่อให้พ้นมด แมลง ที่จะมาไต่ตอม ก็จะใส่กระบุง แล้วผูกเชือก แขวนไว้ในครัว เมื่อต้องการจะรับประทานก็ชักเชือกลงมา ในครัว ทั่ว ๆ ไป จะมีราวไม้แขวน หอม กระเทียม

         

คนภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวกันเป็นอาหารหลัก ส่วนกับข้าวก็หาเอาตามท้องทุ่ง และลำน้ำ ทั้งกบ เขียด อึ่งอ่าง ปู ปลา หอย แมงยูน จีกุ่ง (จิ้งหรีดชนิดหนึ่ง) ไก่ หมู และเนื้อ อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานจะได้จากส่วนผสมที่นำมาทำอาหาร เช่น ความหวานจากผัก จากปลา จากมะเขือส้ม เป็นต้น การทำอาหารก็มักจะให้สุกมาก ๆ เช่นผัดก็จะผัดจนผักนุ่ม ผักต้มก็ต้มจนนุ่ม อาหารส่วนใหญ่จะใช้ผัดกับน้ำมัน แม้แต่ตำขนุน(ยำขนุน) เมื่อตำเสร็จก็ต้อง นำมาผัดอีกจึงจะรับประทาน ในปัจจุบันนี้ เนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาทำอาหารจะเป็น หมู ไก่ เนื้อ และปลาตามลำดับ ปลาที่ใช้ในปัจจุบันมีทั้งปลาเลี้ยง และปลาที่จับ จากแม่น้ำลำคลอง

อาหารไทยอีสาน


    อีสาน เป็นดินแดนที่แห้งแล้งกันดารที่สุดของประเทศไทย บทเพลงของดินแดนอีสานจึงมักบรรยายถึงความทุกข์ยากแสนเข็ญ นาแล้ง ข้าวกล้าเก็บเกี่ยวได้ไม่พอกิน หลาย ๆ ครอบครัวจึงต้องทิ้งเมีย ทิ้งลูก มุ่งหน้ามาเป็นกรรมกรขายแรงงานในเมือง แม้ว่าอีสานจะอดอยากเพียงไร ชาวบ้านก็ต้องดิ้นรนหาอาหารเพื่อดำรงชีวิตกันต่อไป อาหารพื้นเมืองของชาวบ้านแถบอีสานจึงมีอาหาร พวกแมลงหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น จิ้งหรีด มดแดง ตั๊กแตน จักจั่น ดักแด้ แมงกุดจี่ แมงกินูน ฯลฯ แม้ว่าหลาย ๆ คนได้ยินแล้วเกิดความรู้สึกแตกต่างกันไป แต่แมลงเหล่านี้คือแหล่งโปรตีนที่หล่อเลี้ยงชีวิตเด็ก ๆ ชาวอีสานเติบโตขึ้นมาได้ อาหารอีสานนอกจากจะมีแมลงแล้ว ยังใช้เนื้อสัตว์ทีหาได้ในท้องถิ่นเป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่น ปลา ซึ่งจะรับประทานตั้งแต่เป็นลูกปลา เรียกว่า ปลาลูกครอก (ลูกปลาช่อน) จนปลาตัวโต กบ ก็เช่นเดียวกันรับประทานตั้งแต่ลูกกบซึ่งเรียกว่า ฮวก คือลูกอ๊อด ที่กำลังจะกลายเป็นกบ เริ่มมีขา แต่ก็ยังมีหาง ทางอีสานเรียกว่า ฮวก กุ้งฝอย อึ่งอ่าง ปูนา หอยโข่ง หอยขม สัตว์อื่นๆ เท่าที่หาได้ เช่น กระต่าย หนูนา แย้ กิ้งก่า งู จนกระทั่งนกต่าง ๆ ไก่ เป็ด หมู เนื้อ บ้าง
       
คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก และโดยทั่วไปจะนึ่งข้าวเหนียวด้วยหวด หวด คือ ภาชนะที่เป็นรูปกรวย ทำด้วยไม่ไผ่ ซึ่งจะต้องใช้คู่กับ หม้อทรงกระบอก คนอีสานจะต้องแช่ข้าวเหนียวดิบกับน้ำพอท่วมไว้ตอนกลางคืน พอรุ่งเช้าจะนำหม้อทรงกระบอกใส่น้ำตั้งไฟ กะให้น้ำอยู่ต่ำกว่าก้นหวด พอน้ำเดือดจะสงข้าวเหนียวที่แช่ไว้ใส่หวด แล้วยกหวดวางบนหม้ออีกที หาฝาหม้อปิดข้าวเหนียวไว้ ไอน้ำที่พุ่งขึ้นมาจะทำให้ข้าวเหนียวสุก และมีกลิ่นหอมของไม้ไผ่ติดมาด้วย พอข้าวเหนียวสุก ใช้ไม้พายกลับข้าวเหนียวข้างล่างขึ้นมาข้างบน แล้วปิดฝาไว้ ข้าวเหนียวก็จะสุกทั่วกัน

อาหารไทยภาคกลาง


    ภาคกลาง เป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำลำธารหลายสายไหลผ่านข้าวปลาอาหารจึงอุดมสมบูรณ์เกือบตลอดปี รวมทั้งมีพืช ผัก ผลไม้ นานาชนิด นอกจากนี้ภาคกลางยังเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงมานับหลายร้อยปีตั้งแต่สมัยอยุธยา เรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบันจึงเป็นศูนย์รวม ของวัฒนธรรม ประเพณีที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการค้าขาย และติดต่อกับต่างประเทศ มีแขกบ้านแขกเมืองไปมาหาสู่อยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญที่สุดเป็นที่ประทับของในหลวงรัชกาลต่าง ๆ มีเจ้านายหลาย พระองค์รวมทั้งแวดวงชาววังซึ่งต่างก็มีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์อาหารที่เป็นแบบฉบับของคนภาคกลาง
 
       

อาหารไทยภาคใต้


ภาคใต้ เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด ลักษณะภูมิประเทศเป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเล ผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย เมื่ออาศัยอยู่ชาย ทะเล อาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้มักเกี่ยวข้องกับปลา และสิ่งอื่น ๆ จากท้องทะเล อาหารทะเลหรือ ปลา โดยธรรมชาติจะมีกลิ่นคาวจัดอาหารภาคใต้จึงไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นดูจะเป็นสิ่งที่แทบจะขาด ไม่ได้เลย เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีนัก ฉะนั้นจึงจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลือง ๆ แทบทุก อย่าง ไม่ว่าจะเป็น แกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ก็มีขมิ้นทั้งสิ้นและมองในอีกด้านหนึ่ง คง เป็นวัฒนธรรมการกินที่ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในภาคใต้นั่นเอง
 

       
เพราะชีวิตของคนภาคใต้ เกี่ยวข้องกับทะเล เมื่อออกทะเลหาอาหารมาได้มากเกินรับประทานให้หมด ในหนึ่งมื้อได้ คนภาคใต้จึงนำอาหารที่ได้จากทะเลมาทำการถนอมอาหารเช่น
กุ้งส้ม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กุ้งแตะ ซึ่งจะมีสีเขียว กุ้งชนิดนี้เมื่อนำมาทำเป็นกุ้งส้ม สีจะออกแดง ๆ และมีรสเปรี้ยว การทำกุ้งส้มนั้นนำกุ้งมาหมักกับเกลือ น้ำตาลทราย หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วันจนมีรสเปรี้ยว จึงนำมาทำอาหารรับประทานได้ การทำกุ้งส้มหากใช้กุ้งขาว เมื่อหมักแล้วสีจะไม่แดง ต้องใช้ใส่สีช่วย จึงจะน่ารับประทาน ปลาขี้เสียดแห้ง คือการนำปลาสีเสียดมาใส่เกลือจนทั่วตัวปลาแล้วตากแดดให้แห้ง เก็บไว้รับประทานได้นาน ปลาแป้งแดง คือการนำปลาโคบ หมักกับข้าวสุก เกลือ ใส่สีแดงหมักทิ้งไว้ 3-4 วันจึงนำมาปรุงอาหารได้ ปลาเค็ม คือ การนำปลามาหมักกับเกลือ เมื่อก่อนชาวประมงออกทะเลหาปลา พอได้ปลามากก็หมักกับเกลือ บนเรือ ครั้นเรือเข้าฝั่งก็จะได้ปลาเค็มไว้รับประทาน กุ้งแห้ง คือการนำกุ้งที่ได้มาเคล้ากับเกลือ แล้วตากแดดให้แห้ง เก็บไว้รับประทานได้นาน น้ำบูดู ได้จากการหมักปลาตัวเล็ก ๆ กับเกลือเม็ด โดยหมักไว้ในโอ่ง ไห หรือถังซีเมนต์ แล้วปิดฝาผนึกอย่างดี ตากแดดทิ้งไว้ 2-3 เดือน หรือเป็นปี จึงนำมาใช้ได้ บูดูมีทั้งชนิดหวานและชนิดเค็ม ชนิดหวานใช้คลุกข้าวยำปักษ์ใต้ ชนิดเค็ม ใช้ปรุงอาหารประเภทน้ำพริกเครื่องจิ้ม พุงปลา ได้จากการเอาพุงปลาทู หรือปลารัง มารีดเอาสิ่งสกปรกออก แล้วใส่เกลือหมักไว้ 1 เดือนขึ้นไป จึงนำมาปรุงอาหารได้ เนื้อหนาง คือ การนำเอาหัวของวัวไปย่างไฟอ่อน ๆ จนสุกทั่วกันดี แล้วแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นขูดเอาส่วนที่ไหม้ออกจนขาวสะอาด ดีเลาะเอาแต่เนื้อ นำมาเคล้ากับเกลือ น้ำตาลปีบ หมักทิ้งไว้ 2-3 คืนจึงนำมาปรุงอาหารได้ เนื้อหนางอาจทำโดย ใช้เศษเนื้อปนเอ็นหมักก็ได้




การจัดงานเทศกาลอาหารไทยโดยบริษัท Royal Brunei Catering

การจัดงานเทศกาลอาหารไทยโดยบริษัท Royal Brunei Catering
                                                                                                         
สถานเอกอัครราชทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน
                                                                                                                                           



              ด้วยกระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน ว่า เอกอัครราชทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน ได้เข้าร่วมพิธีเปิดงานเทศกาลอาหารไทย Thai Food Festival     ครั้งที่ 8 ซึ่งจัดขึ้นโดยบริษัท Royal Brunei Catering (RBC) ร่วมกับธนาคาร Hong Kong Shanghai Banking Corporation (HSBC) เพื่อเป็นประชาสัมพันธ์อาหารไทยในบรูไน งานเทศกาลดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 14 ตุลาคม 2555 ณ ร้านอาหาร Seasons Restaurant, The Centerpoint, Gadong
               ในระหว่างพิธีเปิดงานเทศกาลอาหารไทยดังกล่าว  ผู้จัดงานได้เชิญ Pg. Ratna Wijaya Brigadier General (Rtd) Pg. Hj. Hasnan Pengiran Ahmad ผู้อำนวยการหน่วยการบิน                           ในสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน (The Sultan’s Flight) เป็นแขกเกียรติยศ พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติซึ่งเป็น  บุคคลสำคัญของฝ่ายบรูไน อาทิ ปลัดกระทรวงการคลัง และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคาร HSBCสำนักงานบรูไนดารุสซาลาม พร้อมด้วยบุคคลชั้นนำจากภาครัฐและเอกชน และสื่อมวลชนท้องถิ่นและ      ต่างประเทศ  โดยมีคุณมาลี ลังบุพผา แม่ครัวชาวไทย  เป็นผู้ประกอบอาหารหลากหลายชนิดซึ่งเป็นที่รู้จักของนักชิมทั่วโลก อาทิ ส้มตำ ยำเนื้อ ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวานเนื้อ ต้มข่าไก่ ไก่ห่อใบเตย ข้าวเหนียวทุเรียน และข้าวเหนียวมะม่วง
                การจัดงานเทศกาลอาหารไทยดังกล่าวนับเป็นอีกวาระหนึ่งซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ผลักดันนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลกด้วยการประชาสัมพันธ์และเน้นย้ำให้ ประชาชนชาวบรูไนได้เข้าถึงรสชาติ    ที่เป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยมากที่สุด ที่ผ่านมาอาหารไทยและขนมไทยเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยม     ในหมู่ชาวบรูไนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก  ไม่เพียงจะเห็นได้จากการที่ RBC ได้จัดงานเทศกาลอาหารไทยดังกล่าวติดต่อกันเป็นปีที่ 8 รวมทั้งความสนใจของสื่อมวลชนบรูไนซึ่งได้เผยแพร่โฆษณาและประชาสัมพันธ์งาน ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเท่านั้น แต่ความนิยมอาหารไทยในหมู่สาธารณชนบรูไนยังสะท้อนจากกิจกรรมส่งเสริมอาหาร ไทยอื่น ๆ ในประเทศนี้ อาทิ การที่ผู้ประกอบการไทยมียอดจำหน่ายอาหารและขนมไทยจำนวนมากในช่วงที่ได้เข้า ร่วมงาน Thailand Grand Fair 2012 ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

คุณค่าอาหารไทยเพื่อสุขภาพ

คุณค่าอาหารไทยเพื่อสุขภาพ

ในปัจจุบันคนไทยมีการปรับเปลี่ยนการกินอาหาร จากรูปแบบดั้งเดิมมาเป็นอาหารที่ได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตกมากขึ้น ทำให้สถานการณ์ของปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเห็นได้จากปัญหาโภชนาการที่เกิดจากการกินอาหารที่ ไม่ถูกต้องทำให้สมดุลของสารอาหารเสียไป นำไปสู่การเกิดโรคเรื้องรังจากความเสื่อมของร่างกาย ซี่งกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกเพศและวัย ได้แก่ โรคหัวใจ และหลอดเลือดโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งบางชนิด สาเหตุหลักคือคนไทยไม่ให้ความสำคัญกับอาหารไทยในชีวิตประจำวันเท่าที่ควร ตลอดจนไม่ตระหนักถึงประโยชน์ของอาหารไทยต่อสุขภาพ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและคัดเลือกอาหารไทยที่สมควร ส่งเสริมให้เป็นอาหารไทยเพื่อสุขภาพ โดยการพัฒนาจัดปรับตำรับอาหารไทยต่างๆที่มีอยู่ให้เป็นตำรับอ้างอิง โดยคงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยและมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ โดยการสัมภาษณ์ผู้ใหญ่ไทยจำนวน 500 คนใน 4 ภูมิภาครวมทั้งกรุงเทพมหานคร เพื่อสำรวจรายชื่ออาหารไทยที่ยังคงได้รับความนิยมร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะ ลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาหารไทยเพื่อให้ได้รายชื่ออาหารไทยที่ควรส่งเสริม จากนั้นจึงนำมาศึกษาตำรับ และทำการทดสอบทางประสาทสัมผัสเพื่อเป็นตำรับอาหารไทยอ้างอิง สำหรับวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ การศึกษานี้ได้พัฒนาตำรับอาหารไทยทั้งสิ้น 3 ประเภท คืออาหารจานเดียว อาหารว่าง และอาหารร่วมสำรับ จำนวน 21 ตำรับ ที่มีความหลากหลายของรสชาติและวิธีการปรุง ผลจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทยพบว่า อาหารไทยมีความหลากหลายของคุณค่าทางโภชนาการ เช่น พลังงานของอาหารไทยที่มีตั้งแต่พลังงานต่ำไปถึงพลังงานสูงอาหารไทยส่วนใหญ่ มีการกระจายตัวของพลังงานที่ได้จากสารอาหารหลักอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจอาหาร ไทยแต่ละสำรับ มีจุดเด่นของตัวเอง ที่สามารถนำมาเลือกบริโภคให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาวะของแต่ละบุคคล อาหารไทยแต่ละชนิดมีพลังงานและไขมันต่ำ ได้แก่ขนมจีน น้ำเงี้ยว ข้าวกับแกงเลียงหรือกับ แกงส้มหรือกับต้มยำกุ้ง อาหารไทยที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ ขนมจีน น้ำเงี้ยว ขนมจีนน้ำยา ข้าวกับแกงเลียงหรือกับแกงส้มหรือกับห่อหมกปลาช่อนใบยอ อาหารไทยที่มีแคลเซียมปานกลางถึงสูง ได้แก่ ข้าวคลุกกะปิ ผัดไทย ข้าวกับน้ำพริกกะปิปลาทูทอด นอกจากคุณค่าทางโภชนาการของสารอาหารที่จำเป็นแล้ว อาหารไทยส่วนใหญ่ยังมีปริมาณใยอาหารอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และมีปริมาณสารอาหารที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในเกณฑ์ที่น่า พอใจ เช่น วิตามินซี วิตามินอีและเบต้าแคโรทีน นอกจากคุณค่าทางโภชนาการแล้วตำรับอาหารไทยต่างๆที่ทำการศึกษายังประกอบด้วย สารสังเคราะห์จากพืชหลายชนิดที่ได้จากเครื่องปรุงหลัก คือ จากพืชผักสมุนไพร และเครื่องเทศ ผลการศึกษาแสดงแนวทางให้เห็นว่าอาหารไทยเป็นอาหารที่มีศักยภาพสูงในการเป็น อาหารเพื่อสุขภาพจึงควรรณรงค์ให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องกับคนไทยให้ ตระหนักถึง

ความสำคัญของอาหารไทยที่มีต่อสุขภาพขณะเดียว กันควรมีการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบและรวบรวมตำรับอาหารไทยให้มีความเป็น มาตรฐานสากลมากขึ้นทั้งตำรับที่ควรที่อนุรักษ์ลักษณะดั้งเดิมของอาหารไทยและ ตำรับที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวัถุประสงค์ต่างๆ เพื่อผลทางสุขภาพ รวมทั้งการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทของอาหารไทยที่มีต่อสุขภาพ เพื่อเป็นแนวทางการสนับสนุนการบริโภคและส่งออกอาหารไทยสู่ตลาดโลก

ที่มา : Food R&D

อ่านบทความ ภาคภาษาอังกฤษที่  http://amaviya.blogspot.com/

อาหารไทย

อาหารไทย

อาหารไทยกลายเป็นอาหารที่นิยมทั่วโลก เนื่องจากรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเกิดจากการผสมผสานอย่างกลมกล่อมของรสหวาน รสเปรี้ยว และรสเค็ม นอกจากนั้นยังมีรสเผ็ดร้อนของพริกที่เพิ่มรสชาติอาหารไทยให้เป็นที่นิยมของ ชนทุกชั้น ทั้งคนไทยและผู้บริโภคชาวต่างชาติทั่วโลก

    อาหารไทยได้รวบรวมสุดยอดศิลปะการปรุงอาหารของชาว เอเชียตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นการปรุงอาหารแบบซีฉวนของจีน, การปรุงอาหารเขตเมืองร้อนของชาวมาเลย์, การปรุงอาหารด้วยกะทิอันมีต้นกำเนิดจากอินเดียตอนใต้ และ การใช้เครื่องเทศในการปรุงอาหารของชาวอาราเบีย ศิลปะการปรุงอาหารไทยที่มีต้นกำเนิดจากการผสมผสานของศิลปะการปรุงอาหารที่ หลากหลายเหล่านี้ได้รับการประยุกต์โดยใช้ สมุนไพรพื้นเมืองที่สมบูรณ์ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ผักชี, พริก, พริกไทย, เครื่องเทศอื่นๆ ผลที่ได้คือรูปลักษณ์อาหารที่ชวนให้น่ารับประทาน ขณะที่ใช้เนื้อสัตว์ปรุงอาหารในปริมาณจำกัด และเน้นคุณค่าของสมุนไพรและผักสดต่างๆ ทำให้อาหารไทยอร่อยทั้งรสชาติ, สารอาหารครบถ้วนและดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค

 การปรุงอาหารไทยจะใช้วิธีการปรุงที่สั้นและรวดเร็ว ทำให้พืชผักและสมุนไพรที่ใช้ประกอบอาหารยังคงมีสีสันสวยงาม กรอบ และไม่เสียรสชาติดั้งเดิม รวมถึงสิ่งที่สำคัญคือคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่ยังคงครบถ้วน ส่วนประกอบหลักของการปรุงอาหารไทยได้แก่ พืชผัก สมุนไพรพื้นเมืองต่งๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอมต่างจากอาหารของชนชาติอื่นๆแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณทางยาตามตำรับแพทย์แผนไทยของสมุนไพรและผักต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งส่งผลให้ชาวต่างชาติรู้ถึงประโยชน์ และกล่าวขานถึงอาหารไทยที่นอกจากจะเด่นในเรื่องรสชาติแล้ว ยังเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคอีกด้วย

     อาหารไทยหนึ่งมื้อจะประกอบด้วยการผสมผสานอาหาร หลายๆประเภทในมื้อเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นแกง, น้ำแกง, กับข้าวประเภทผัด, น้ำพริก เครื่องจิ้มผักสด และยำประเภทต่างๆ ซึ่งรสชาติอาหารเหล่านี้จะมีทั้งเผ็ดร้อนและกลมกล่อมผสมผสานกัน เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกตามความพอใจ

     การปรุงอาหารไทยนั้นไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินความสามารถ ของทุกคน ถ้าท่านได้คุ้นเคยกับวัตถุดิบ ส่วนผสมและ เครื่องปรุงต่างๆแล้ว ทางเราสามารถยืนยันได้ว่า ท่านจะประหลาดใจถึงความสามารถของท่านในการปรุงอาหารไทยของท่านเอง การดำรงชีวิตของคนไทยนั้นจะไม่เร่งรัด ไม่รีบร้อน ปล่อยตัวตามสบาย ซึ่งส่งผลไปยังวิถีการปรุงอาหารของคนไทยที่ไม่เร่งรัด ง่ายๆ แต่พิถีพิถัน ที่สำคัญเวลาปรุงอาหารไทย อย่าลืมยิ้ม ตามที่คนต่างชาติรู้จักคนไทยว่าเป็น สยามเมืองยิ้ม!